แสดงทั้งหมด 8 ผลลัพท์

ฉนวนกันความร้อนผนัง บ้านเย็นขึ้น เหมาะกับผนังเบาทุกรูปแบบ

ไม่ว่าฤดูกาลไหน ๆ ประเทศไทยก็เจอแดดแรงเป็นเรื่องปกติ ถ้าไม่เลือกทำผนังบ้านดี ๆ รับรองว่าทั้งร้อนและอบอ้าวจนหงุดหงิดแน่ ๆ Gypstore ขอแนะนำตัวช่วยดี ๆ อย่าง ฉนวนกันความร้อนผนัง วัสดุสำคัญที่ช่วยกันความร้อนและลดเสียงรบกวนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การันตีคุณภาพดี ราคาเป็นมิตร ถ้าหากไม่รู้จะเลือกอย่างไร ให้ Gypstore เป็นที่ปรึกษาให้ฟรี!

ฉนวนกันความร้อนผนัง ราคาสุดคุ้ม

ฉนวนกันความร้อนผนัง ราคาขึ้นอยู่กับขนาด และความหนา เช่น 

  • ฉนวน Rockwool รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro330 40k 75 x 400 x 1200 มม. ราคา 339 บาท
  • ฉนวน Rockwool รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro330 40k 50 x 400 x 1200 มม. ราคา 345 บาท
  • ฉนวน Rockwool รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro330 40k 75 x 600 x 1200 มม. ราคา 509 บาท
  • ฉนวน Rockwool รุ่น Safe ‘n’ Silent Pro330 40k 100 x 600 x 1200 มม. ราคา 511 บาท

ฉนวนกันความร้อนผนังคืออะไร 

ฉนวนกันความร้อนผนัง คือวัสดุที่ใช้ติดตั้งที่ผนังเพื่อกันความร้อนจากภายนอก ไม่ให้ส่งผ่านเข้ามาภายใน ทำให้อุณหภูมิของบ้านลดลง นอกจากนี้ ฉนวนบางประเภทยังมีคุณสมบัติช่วยลดเสียงรบกวนจากภายนอก ทำให้สภาพแวดล้อมภายในบ้านน่าอยู่และเย็นสบายมากขึ้น ฉนวนกันความร้อนผนังมีหลายประเภทให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เพื่อที่จะได้นำไปใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อนผนัง

  1. สะท้อนรังสีความร้อนและป้องกันการส่งผ่านความร้อนเข้ามาในพื้นที่ ทำให้บ้านเย็นขึ้น
  2. ป้องกันน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี
  3. ฉนวนกันความร้อนผนังบางประเภท ลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้
  4. ฉนวนกันความร้อนผนังบางประเภท เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  5. ไม่ลามไฟหรือติดไฟได้ยาก

ฉนวนกันความร้อนผนัง มีกี่แบบ 

ฉนวนกันความร้อนผนังมีให้เลือกใช้หลายประเภท เช่นเดียวกับฉนวนกันความร้อนหลังคา หรือฉนวนกันความร้อนบนฝ้า โดยเราจะขอยกตัวอย่าง 4 ประเภทที่นิยมใช้ ดังนี้

1. ฉนวนใยหิน (ร็อควูล)

ฉนวนใยหิน หรือร็อควูล เป็นฉนวนที่ผลิตจากหินบะซอลต์และแร่อื่น ๆ มีลักษณะเป็นแผ่นหรือม้วน กันความร้อนได้ดีเยี่ยม ทนไฟสูง และสามารถดูดซับเสียงได้ดี นิยมใช้ในอาคารที่ต้องการความปลอดภัยสูงหรือต้องการคุณสมบัติในการกันเสียง เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรืออาคารสูง

ข้อดี

  • ทนไฟได้ดีมาก ไม่ลุกลามไฟ
  • นำความร้อนต่ำ จึงทำให้มีประสิทธิภาพในการกันความร้อนได้ดี
  • ดูดซับเสียงได้ดี
  • ทนทานต่อการเสื่อมสภาพ อายุการใช้งานยาวนาน
  • ไม่ได้ทำมาจากแร่ใยหิน จึงไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อเสีย

  • เมื่อถูกน้ำและความชื้นนาน ๆ อาจเสื่อมประสิทธิภาพ

2. ฉนวนใยแก้ว

ฉนวนใยแก้วผลิตจากทรายและแก้วรีไซเคิล ผ่านกระบวนการหลอมและปั่นให้เป็นเส้นใย มีลักษณะเป็นแผ่นหรือม้วน กันความร้อนและเสียงที่ดี ราคาไม่แพงมาก จึงเป็นที่นิยมใช้ในบ้านพักอาศัยและอาคารทั่วไป สามารถใช้ได้ทั้งในผนัง ฝ้าเพดาน และหลังคา ช่วยประหยัดพลังงานในการปรับอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อดี

  • น้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย
  • ราคาไม่แพง คุ้มค่าต่อการลงทุน
  • กันความร้อนและเสียงได้ดี
  • มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปรับรูปทรงได้ตามต้องการ
  • ป้องกันความชื้นสูง

ข้อเสีย

  • อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและระบบหายใจระหว่างการติดตั้ง
  • ประสิทธิภาพลดลงเมื่อสัมผัสความชื้น
  • ไม่ทนไฟเท่าฉนวนใยหิน

3. ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์

ฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ มีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์บาง ๆ พื้นผิวบางเรียบ มีความมันวาว มีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสีความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่ไม่ได้กันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้าน จึงมักใช้ร่วมกับวัสดุฉนวนอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันความร้อน

ข้อดี

  • ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนสูงสุด 95-97%
  • หาซื้อง่าย ราคาไม่สูง
  • ทนต่อความชื้นได้ค่อนข้างดี ป้องกันการเกิดเชื้อรา
  • ไม่มีสารระคายเคือง

ข้อเสีย

  • ต้องใช้งานร่วมกับฉนวนกันความร้อนชนิดอื่น ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกันความร้อน
  • ไม่มีคุณสมบัติในการดูดซับเสียง

4. ฉนวนกันความร้อนเซลลูโลส

ฉนวนกันความร้อนเซลลูโลสผลิตจากกระดาษรีไซเคิลที่ผ่านการบดและประสานเข้าด้วยกันด้วยบอแร็กซ์ มีคุณสมบัติป้องกันความร้อนได้สูง น้ำหนักเบา มีให้เลือกด้วย กัน 3 รูปแบบ คือ แบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น แบบคลุม และแบบฉีดพ่น

ข้อดี

  • กันความร้อนได้ดี
  • ลดเสียงสะท้อนได้
  • แบบพ่นสามารถเข้าถึงพื้นที่ซอกมุมได้ดี เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีรูปทรงซับซ้อน

ข้อเสีย

  • อาจเกิดการหลุดร่อนเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ประสิทธิภาพลดลง
  • ต้องระวังความชื้นสูง อาจทำให้เกิดเชื้อราได้
  • ติดไฟได้ จึงมักมีการใส่สารไม่ลามไฟ
  • ถ้ามีรอยฉีกขาด และสูดดมเข้าไปอาจจะเกิดอาการระคายเคืองจมูกได้

วิธีติดฉนวนกันความร้อนผนัง

วิธีการติดฉนวนกันความร้อนผนังมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับประเภทของฉนวนและลักษณะของผนัง เช่น

  • ติดตั้งระหว่างโครงคร่าวผนัง
  • พ่นหรือฉีดเข้าไปในช่องว่างของผนัง (ฉนวนโฟมแบบพ่น)
  • ติดตั้งด้านในของผนังที่มีอยู่แล้ว แล้วปิดทับด้วยแผ่นยิปซัมบอร์ด
  • ติดตั้งด้านนอกของผนังแล้วปิดทับด้วยวัสดุตกแต่งภายนอก

หากใครที่กำลังมองหาฉนวนกันความร้อนผนังสามารถหาข้อมูลหรือติดต่อสอบถามได้ที่ Gypstore ซึ่งมีทั้งหน้าร้านและแบบออนไลน์ ดังนี้