ฉนวนกันความร้อน ช่วยคลายร้อน ราคาไม่แพง
ฉนวนกันความร้อนที่ได้มาตรฐานจะต้องถูกคัดเลือกมาอย่างดีไม่ว่าจะเป็นการเลือกวัสดุที่นำมาใช้ จะต้องมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งทาง Gypstore เองเน้นขายสินค้าที่ได้รับมาตรฐานเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถปรึกษาเพื่อสอบถามกับทางผู้เชี่ยวชาญได้ฟรี และยังการันตีอีกว่าคุณจะได้รับสินค้าถึงมืออย่างแน่นอน
ขนาดฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อน ราคาพิเศษ
ราคาสินค้าขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุ ยี่ห้อ ตำแหน่งการใช้งาน และขนาดซึ่งเราได้รวบรวมราคาของแผ่นกันความร้อนเพื่อเป็นทางเลือกสำหรับงานก่อสร้างต่าง ๆ ดังนี้
จำแนกตามประเภทของวัสดุ
- วัสดุใยแก้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 170 - 450 บาท
- วัสดุใยหิน ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 317 - 1,490 บาท
จำแนกตามประเภทของยี่ห้อ
- ยี่ห้อ SCG (ตราช้าง) ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 330 - 450 บาท
- ยี่ห้อ rockwool ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 317 - 1,490 บาท
- ยี่ห้อ microfiber ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 160 - 300 บาท
จำแนกตามตำแหน่งการใช้งาน
- ฉนวนหลังคา ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 160 - 925 บาท
- ฉนวนผนัง ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 317 - 1,490 บาท
- ฉนวนบนฝ้า ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 170 - 450 บาท
จำแนกตามขนาด
- ขนาด 2 นิ้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 160 - 1,490 บาท
- ขนาด 3 นิ้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 300 - 476 บาท
- ขนาด 6 นิ้ว ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 450 บาท
ฉนวนกันความร้อน คืออะไร?
ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่จัดอยู่ในประเภทสกัดความร้อนที่ส่องลงมาไม่ให้ส่งผ่านไปช่วงอื่น ๆ ซึ่งลักษณะของฉนวนความร้อนจะประกอบไปด้วยฟองอากาศเล็กเป็นจำนวนมากและมีลักษณะเบา
คุณสมบัติของฉนวนกันความร้อน
คุณสมบัติของฉนวนคือการสกัดและให้ความร้อนอยู่ภายในฟองอากาศของฉนวนนั้น โดยจะต้องไม่นำความร้อนไปยังส่วนอื่น ๆ ภายในบ้านหรือบริเวณอื่น ๆ และจะนิยมใช้กับโครงหลังคาบ้านเนื่องจากเป็นส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงหรือจะนำไปใช้กับฝ้าเพดานก็ได้เช่นกัน
ประเภทของฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนได้ถูกจำแนกออกมาหลากหลายประเภทและมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
1. ฉนวนกันความร้อน pe
ฉนวน pe หรือ แผ่นฉนวนโพลีเอธิลีนโฟม (Polyethylene Foam) เป็นแผ่นโฟมที่ประกอบไปด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์ประกบติดกัน 1-2 ด้าน ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันความร้อน และฉนวนประเภทนี้มีให้เลือกหลายแบบเช่น ชนิดฉีดพ่น ชนิดที่เป็นแผ่น โดยโฟมสามารถป้องกันน้ำและความชื้นได้เป็นอย่างดี แต่ก็อาจบิดโค้งหรือเกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าหากเจอกับอุณหภูมิสูงมากกว่า 100 องศาเซลเซียส
2. แผ่นฟอยล์กันความร้อน
แผ่นฟอยล์กันความร้อนคืออะลูมิเนียมฟอยล์แผ่นบางและทำหน้าที่สะท้อนความร้อนออกไปนอกตัวบ้านจึงสามารถป้องกันความร้อนได้เป็นอย่างดี ซึ่งแผ่นฟอยล์มีความสามารถสะท้อนรังสีความร้อนได้ถึง 97% แต่ควรใช้ควบคู่กับฉนวนประเภทอื่นด้วยเนื่องจากแผ่นฟอยล์ไม่สามารถต้านทานความร้อนได้
3. ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว คือ ฉนวนที่ถูกห่อด้วยอะลูมิเนียมฟอยล์อีกที ซึ่งฉนวนใยแก้วจะมีหน้าที่ป้องกันความร้อนและผลิตขึ้นมาจากใยแก้วที่ช่วยป้องกันทั้งความชื้นและลดการอุ้มน้ำได้
4. ฉนวนกันความร้อนเซลลูโลส
ฉนวนเซลลูโลสผลิตมาจากเยื่อกระดาษหรือเยื่อไม้ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เป็นชนิดพ่นบริเวณใต้ช่องว่างของหลังคาหรือฝ้าเพดานซึ่งเซลลูโลสสามารถป้องกันความร้อนได้ดี แต่ก็มีข้อจำกัดคือต้องใส่สารป้องกันไฟและติดตั้งค่อนข้างลำบากเนื่องจากต้องพ่นให้มีความหนามากกว่า 2 นิ้ว
5. ฉนวนกันความร้อนใยหิน (ร็อควูล)
ฉนวนกันความร้อนใยหิน (ร็อควูล) มีคุณสมบัติที่คล้ายกับฉนวนใยแก้วและเซลลูโลสแต่มีความพิเศษมากกว่าคือสามารถทนไฟได้ดีกว่าเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังดูดซับเสียงได้อีกด้วย แต่เนื่องจากมีลักษณะเป็นก้อนทึบก็ทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องของความเปียกชื้นเช่นกัน
6. ฉนวนกันความร้อนแอร์บับเบิ้ล
ฉนวนแอร์บับเบิ้ล (Air Bubble) จะมีลักษณะคล้ายกับแผ่นพลาสติกกันกระแทกที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปเนื่องจากมีมวลอากาศตรงกลางจึงถูกเรียกว่าเป็นแอร์บับเบิ้ล และจะมีแผ่นฟอยล์ประกบทั้งสองด้านของแอร์บับเบิ้ลอีกทั้งยังช่วยป้องกันความร้อนได้อีกด้วย
ฉนวนกันความร้อน ขนาด
โดยทั่วไป ฉนวนจะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไปและสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม ดังนี้
- ฉนวนกันความร้อน 2 นิ้ว มีความหนา 50 มม. ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในประเภทฝ้าเพดานหรือหลังคา
- ฉนวนกันความร้อน 3 นิ้ว มีความหนา 75 มม. ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในประเภทฝ้าเพดาน
- ฉนวนกันความร้อน 6 นิ้ว มีความหนา 150 มม. ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในประเภทเหนือฝ้าเพดาน
รูปแบบการติดตั้งฉนวน
สามารถติดตั้งได้หลายรูปแบบตามตำแหน่งที่ติดตั้ง เช่น
1. ติดตั้งเหนือฝ้าเพดาน
การติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าจะหน่วงความร้อนไม่ให้สะสมใต้หลังคา และแทรกซึมลงสู่พื้นที่อยู่อาศัย โดยจำเป็นต้องมีช่องระบายอากาศตรงฝ้าชายคาบ้าน เพื่อป้องกันการสะสมของความร้อนและความชื้น ฉนวนที่ติดตั้งบริเวณนี้มีให้เลือกหลากหลาย ทั้งแบบแผ่นและแบบม้วน โดยประเภทวัสดุที่นิยม ได้แก่ โพลีเอธิลีนโฟม ใยแก้ว และแอร์บับเบิล เพราะสามารถกันความชื้นได้ดี
2. ติดตั้งใต้แผ่นหลังคา
การติดตั้งใต้แผ่นหลังคา เป็นการป้องกันความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากสามารถดักจับความร้อนตั้งแต่จุดแรกที่ผ่านเข้ามาในตัวบ้าน กันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ใต้หลังคา โดยมีทั้งแบบติดตั้งพร้อมกับการสร้างหลังคา และแบบติดตั้งภายหลังได้ เช่น ฉนวนแบบฉีดพ่น สำหรับวัสดุฉนวนที่นิยม คือ ใยแก้ว โพลีเอธิลีนโฟม และแอร์บับเบิล
3. ติดตั้งบนผนังบ้าน
ส่วนใหญ่แล้วคนมักจะคุ้นเคยกับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนหลังคาและเหนือฝ้าเพดาน แต่จริง ๆ แล้ว บริเวณผนังบ้านก็เป็นอีกตำแหน่งที่ได้รับความนิยม โดยการติดตั้งฉนวนกันความร้อนผนังบ้าน จะช่วยป้องกันความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวบ้าน ซึ่งควรติดตั้งตั้งแต่เริ่มสร้างบ้าน
4. ติดตั้งฉนวนบนผิวหลังคา
การติดตั้งรูปแบบสุดท้าย จะเป็นการใช้สีสะท้อนความร้อน หรือสีกันความร้อน ซึ่งมีสารที่เป็นฉนวนกันความร้อนเป็นส่วนผสม นิยมใช้ควบคู่ไปกับการติดตั้งฉนวนแบบอื่น ๆ เพราะสีสะท้อนความร้อนจะสัมผัสกับความร้อนโดยตรง ทำให้เสื่อมสภาพเร็วขึ้น หากไม่ได้ติดตั้งฉนวนแบบอื่น ๆ เพิ่มเติม จะทำให้ประสิทธิภาพในการสะท้อนความร้อนลดลงได้
วิธีเลือกฉนวนกันความร้อน ต้องดูอะไรบ้าง
1. ตำแหน่งติดตั้ง
ควรเลือกประเภทฉนวนให้เหมาะสมตำแหน่งติดตั้ง เช่น ฉนวน pe และฉนวนใยแก้วที่มีความหนา ดูดซับความร้อนและความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับติดตั้งใต้หลังคา หรือฉนวนใยหิน (ร็อควูล) มีคุณสมบัติพิเศษคือดูดซับเสียงได้ เหมาะกับงานผนัง เป็นต้น
2. ค่าต้านทานความร้อน
ค่าต้านทานความร้อน หรือค่า R (Resistivity) มักปรากฏบนสลากที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ เป็นค่าที่บ่งบอกว่า ฉนวนสามารถป้องกันความร้อนที่ผ่านเข้ามาได้มากแค่ไหน ยิ่งค่า R สูง ยิ่งต้านทานความร้อนได้ดี ซึ่งค่านี้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุและความหนาของฉนวน ยิ่งฉนวนหนา ยิ่งกันความร้อนได้มาก
นอกจากนี้ ควรพิจารณาค่าการนำพาความร้อน หรือค่า K (Thermal Conductivity) ด้วย ยิ่งมีค่า K สูง ยิ่งนำพาความร้อนมาก ดังนั้นควรเลือกใช้ฉนวนที่มีค่า K ต่ำจะดีที่สุด
3. ราคา
ราคาเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ไม่ควรเป็นปัจจัยเดียวในการตัดสินใจ ฉนวนราคาถูกอาจมีประสิทธิภาพต่ำกว่าและต้องเปลี่ยนบ่อยกว่า ทำให้มีค่าใช้จ่ายระยะยาวสูงขึ้น ในทางกลับกัน ฉนวนคุณภาพสูงอาจมีราคาแพงกว่า แต่ให้ประสิทธิภาพดีกว่าและมีอายุการใช้งานยาวนานกว่า ซึ่งอาจคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แนะนำให้เปรียบเทียบค่ากันความร้อนและราคาของฉนวนแต่ละแบบเพื่อหาว่าฉนวนแบบไหนคุ้มค่าที่สุด
ฉนวนกันความร้อนยอดนิยม
Gypstore มีฉนวนกันความร้อนผนัง ใต้หลังคา หรือฉนวนประเภทอื่น ๆ มีให้เลือกอยู่เป็นจำนวนมากแต่มีฉนวนยอดนิยมอยู่ 3 ประเภทที่ได้รับความนิยมจากลูกค้าและกลับมาซื้อซ้ำอีกดังนี้
- ฉนวนกันความร้อน Staycool ยี่ห้อ SCG ซึ่งมีส่วนผสมของใยแก้วที่ผสมกับสาร HydroProtec ซึ่งช่วยลดการอุ้มน้ำได้ถึง 10 เท่าและยังป้องกันความชื้นได้ดี และมีความทนทานสามารถใช้งานได้นาน ติดตั้งง่ายไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ซึ่งเหมาะกับงานปูเหนือฝ้าเพดาน ไม่ว่าจะเป็นที่พักอาศัยหรือโรงงานก็สามารถใช้ได้
- ฉนวนกันความร้อน Rockwool มีน้ำหนักเบา ติดไฟได้ยาก มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว ซึมซับเสียงได้ดีและมีให้เลือกทั้งแบบมีหรือไม่มีติดแผ่นฟอยล์ ซึ่งเหมาะกับงานระบบหลังคาเดี่ยวและอาคารสำนักงานหรืออาคารในโรงงานอุตสาหกรรม
- ฉนวนกันความร้อน Microfiber เป็นฉนวนที่ดูดซับเสียงได้ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังลดการอุ้มน้ำ ซึ่งเหมาะกับงานหลังคาหรือติดตั้งใต้แผ่นหลังคาเหล็กรีด หลังคากระเบื้อง หรือหลังคาคอนกรีต และสามารถใช้ได้กับอาคารสำนักงาน โรงงาน และที่พักอาศัย
หากใครที่กำลังมองหาฉนวนกันความร้อนสามารถหาข้อมูลหรือติดต่อสอบถามได้ที่ Gypstore ซึ่งมีทั้งหน้าร้านและแบบออนไลน์ ดังนี้
- เบอร์โทร : 099-261-3561
- Line : @gypstore
- Facebook : ยิปสโตร์ Gypstore
- ยิปสโตร์ สำนักงานใหญ่ : https://goo.gl/maps/VvfN3SHinSVep4g5A
- ยิปสโตร์ สาขาทุ่งครุ : https://goo.gl/maps/21GH5GsvXLqSzHwk6